วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Six Sigma

Six Sigma

เทคนิควิธีการในการเพิ่มผลผลิตหรือจะเป็นเพียงคำสถิติ

Six Sigma เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุดใน ขณะนี้ ทั้งนี้เนื่องมาจากผลสำเร็จของบริษัทชั้นแนวหน้าของโลกที่นำเอาวิธีการดังกล่าวไป ปรับปรุงคุณภาพกระบวนการภายในขององค์การจนสามารถเพิ่มรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ หรือสร้างความสำเร็จให้กับบริษัทได้อย่างก้าวกระโดด ตัวอย่างเช่น Allied Signal บริษัท ยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจยานยนต์ อากาศยาน และวัสดุอุปกรณ์ทางวิศวกรรม ที่สามารถ พลิกฟื้นจากบริษัทที่เกือบจะล้มละลาย โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายทางตรง (Direct Costs) ลงได้มากกว่า 2 พันล้านดอลล่าร์ หรือ General Electric ที่เริ่มพัฒนา Six Sigma ในปี 1995 ต่อมาในปี 1997 บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานมากกว่า 300 ล้านดอลล่าร์และเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านดอลล่าร์ในปีถัดมา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่ประสบผลสำเร็จจากการนำเทคนิคดังกล่าวไปใช้อีกมากมาย เช่น Asea Brown Boveri (ABB) ,Sony , Honda , Maytag , Raytheon , Texas Instrument , Bombardier , Cannon , Hitachi , Lockheed Martin และ Polaroid เป็นต้น !
ในทางสถิติSigma (s)เป็นค่าที่ใช้วัดค่าความเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน หรือผลที่ต้องการสำหรับจุดเริ่มต้นของการเป็นที่รู้จักของ Six Sigmaเริ่มจากการที่ Motorola นำแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพดังกล่าวมาใช้ในช่วงทศวรรษ1980 จนสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้คือในระดับ 6sและผลของความสำเร็จอย่างสูงทำให้เป็นที่รู้จักตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดย หลักการแล้ว Six Sigma เป็นการวัดคุณภาพของสินค้าและบริการในระดับสูง โดยพยายามที่จะกำจัดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในทุกกระบวนการขององค์กร มีแนวคิดที่จะหาวิธีการที่แน่ชัดที่สามารถควบคุมป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริงๆ(Risk Prevention) ไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่ (Risk Management) ผลของ Six Sigma จะตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้สูงขึ้น และช่วยลดต้นทุนขององค์การลง (Customer - Driven Organizations)


จากการสำรวจบริษัทในสหรัฐอเมริกาของนิตยสารUSA Today พบว่ากำไรที่หายไปประมาณร้อยละ 20 - 25 มาจากต้นทุนในเรื่องสินค้าไม่ได้คุณภาพในกระบวนการผลิต และประมาณการว่าบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่มีค่า Process Sigma ประมาณ 3 ถึง 4 (Today's U.S. Average) จะสูญเสียรายได้ประมาณร้อยละ10 - 15 เนื่องมาจากสินค้ามีข้อบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานจากกราฟข้างต้นจะแสดงถึงส่วนที่เป็นกำไรโดยเกิดจากจุดที่มีต้นทุนทางด้านสินค้าไม่ได้คุณภาพต่ำที่สุดในขณะที่สินค้านั้นๆสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด ซึ่งกระบวนการของ Six Sigma สามารถทำให้บรรลุผลตรงนั้นได้

ค่า Sigma

ร้อยละของความสมบูรณ์

ตัวอย่าง

3

93.32%

ในทุกๆหน้าของหนังสือ 1 เล่ม มี คำสะกดผิด 1.5 คำ

4

99.38%

ในทุกๆ 30 หน้าของหนังสือ 1 เล่ม มี คำสะกดผิด 1 คำ

6

99.99966%

ใน 1 เล่มของหนังสือจะมีคำสะกดผิด 1 คำ

Six Sigma เป็นแนวคิดการเพิ่มผลผลิตโดยคำนึงถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(continuous Improvement) สามารถกำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว เพื่อที่จะบรรลุถึงจุดสุดยอดของคุณภาพ เช่น เป้าหมายในระยะสั้นคือเพิ่ม 1sใน 2 ปี และหลัง 4 ปี สามารถเพิ่มได้อีก 2sและบรรลุเป้าหมายระยะยาวคือ 6sในสิ้นปีที่6 เป็นต้น ความแตกต่างระหว่าง 3sกับ 6sคือพื้นที่ระหว่าง Customer's Value Line และ Poor Quality Cost Line ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้จะตกอยู่กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง(Stakeholders) 3 ฝ่าย ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และผู้ถือหุ้นของบริษัท
Six Sigma จะมีแนวทางหริอวิธีการอยู่ 2 อย่างในการกำจัดข้อบกพร่องออกจากกระบวนการหรือออกจากผลิตภัณฑ์ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน การนำไปใช้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมขององค์การแต่ละแห่ง แนวทางดังกล่าวได้แก่ DMAIC และ DMADV

สิ่งที่เหมือนกันของ DMAIC and DMADV

· - Six Sigma จะยอมรับข้อบกพร่องที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.4 ครั้งต่อโอกาสหรือความเป็น ไปได้ 1,000,000 ครั้ง
- ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง และมีความถูกต้องที่สุด ข้อมูลหรือตัวเลขที่ได้ไม่ได้มาจากลางสังหรณ์ หรือสัญชาตญาณของบุคคล
- มีกลุ่มที่เข้ามาดูแลและรับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ กลุ่ม Green Belts กลุ่ม Black Belt และกลุ่ม Master Black Belts
- แนวทางการดำเนินงานไม่ขัดกับวัฒนธรรม ขวัญและกำลังใจของพนักงานทุกระดับในองค์การ
- ได้รับความร่วมมือจากพนักงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดำเนินงานโดยเฉพาะในระดับบริหาร

สิ่งที่แตกต่างกันของ DMAIC and DMADV

DMAIC

Define

Measure

Analyze

Improve

Control

· กำหนดเป้าหมายของลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอกองค์การอย่างชัดเจน

· วัดกระบวนการที่เกี่ยวข้องในสถานะปัจจุบัน

· วิเคราะห์และกำหนดปัญหาที่เป็นต้นเหตุของการเกิดข้อบกพร่อง

· ปรับปรุงกระบวนการโดยกำจัดข้อบกพร่องต่างๆ

· ควบคุมกระบวนการที่จะมีผลให้เกิดข้อบกพร่องในอนาคต

DMAIC จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพในกรณีที่ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการมีอยู่แล้วในองค์การแต่ไม่ตรงกับความพึงพอใจของลูกค้า หรือยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ

DMADV

Define

Measure

Analyze

Design

Verify

· กำหนดเป้าหมายของลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอกองค์การอย่างชัดเจน

· วัดและกำหนดความต้องการของลูกค้าและระบุรายละเอียดอย่าง ชัดเจน

วิเคราะห์เงื่อนไขของกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของลูกค้าข้างต้น

ออกแบบและระบุรายละเอียดของกระบวนการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ตรวจสอบและพิสูจน์กระบวนการที่ออกแบบว่าตรงกับความต้องการของลูกค้า

DMADV จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับองค์การที่มีลักษณะดังนี้

· ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่ไม่เคยมีในองค์การ และมีความต้องการที่จะพัฒนาขึ้นมา
ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการนั้นๆ อาจจะเคยมีในองค์การแต่ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น อาจจะเคยลองใช้ DMAICมาแล้วยังไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า หรือยังไม่ได้ระบุค่า Six Sigma ที่ตั้งไว้
แนวทางทั้งสองดังกล่าว มีทั้งข้อดีและจุดที่แตกต่างกัน แต่ถึงกระนั้นคงไม่สามารถกำหนดว่าจะต้องยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งเฉพาะ การเลือกใช้ควรปล่อยไปตามความ เหมาะสมกับสถานการณ์และเวลา ในองค์การหนึ่งอาจใช้ทั้งสองแนวทางควบคู่กัน เช่น ในบางองค์การที่มี Product Life Cycle สั้นหรือลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่ต้องก้าวให้ทันเทคโนโ,ยี DMADV อาจเริ่มมีบทบาทเมื่อถึงจุดที่จำเป็นต้องมองถึงแนวทางในการหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม และสนองควมต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม

Six Sigma จะมีวิธีการ (Methodology) ปรับปรุงคุณภาพโดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่

1 ระดับพื้นฐาน (Basic Six Sigma Methods) เช่น Process Mapping , Flowchart , Check Sheets , Pareto Analysis , Cause and Effect Diagrams , Histograms , Tree Diagrams เป็นต้น
2. ระดับกลาง (Intermediate Six Sigma Methods)เช่น Basic Control Charts , EWMA Charts , Process capability Analysis , Process Control for Short and Small Runs , Hypothesis Testing เป็นต้น
3. ระดับสูง (Advanced Six Sigma Methods) เช่น DOE , Data Mining , Regression and Correlation Analysis , Monte Carlo Simulation เป็นต้น

วิธีการคำนวณหาค่า sแบบง่าย
Defects Per Million Opportunities (DPMO) = (total defects/total opportunities)*1,000,000
Defect (%) = (total defects/total opportunities)*100%
Yield (%) = 100 - % defects
Process Sigma (พิมพ์สูตรนี้ใน Excel) :
=NORMSINV(1-(total defects / total opportunities))+1.5

โดยมีสมมุติฐานว่า Sigma Mean Shift เท่ากับ 1.5 เนื่องจาก นัยทางสถิติก็คือ Six sigma จะยอมรับข้อบกพร่องในจำนวนที่เท่ากับ 3.4 ครั้งต่อความเป็นไปได้ล้านครั้งหรือเท่ากับ 3.4 DPMO ซึ่งจากตาราง Normal Distribution จะได้ค่า Sigmaเท่ากับ 4.5 ส่วนต่างที่หายไป 1.5 คือ Drift ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลา ซึ่งทาง Motorola เรียกว่าเป็นLong term Dynamic Mean variation ซึ่งค่านี้จะมีค่าระหว่าง 1.4 และ 1.6 ซึ่งจะมีผลต่อการคำนวณ Sigmaในระยะสั้นเท่านั้น ในกรณีที่เป็นระยะยาว Sigma Mean Shift จะไม่มีผลเพราะฉะนั้นการคำนวณProcess Sigma ในระยะยาวจะต้องหักค่า 1.5 ออก

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติในกระบวนการผลิตสินค้า 10,000 ชิ้นปรากฎว่ามีของเสีย 8 ชิ้น จะได้
DPMO = 800
Defects (%) = 0.08
Yield (%) = 99.92
Process Sigma = 4.66

จากตัวอย่างข้างต้นค่า DPMO หมายถึงในกระบวนการผลิตสินค้า 1,000,000 ชิ้น คิดเป็นร้อยละของข้อบกพร่อง0.08 หรือมีประสิทธิภาพการผลิตร้อยละ99.92 จากค่าตัวเลขต่างๆที่ได้นับว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ถ้าพิจารณาถึงค่า Process Sigma พบว่ามีค่าเพียง 4.66 แสดงว่าบริษัทสามารถปรับปรุงคุณภาพการผลิตเพื่อลดข้อบกพร่องได้อีก โดยกลับไปมองว่าจะใช้แนวทางและวิธีการปรับปรุงคุณภาพระดับใด เพื่อลดความผันผวนระหว่างค่า Mean ให้ลดลงจนสามารถเท่ากับ 0 หรือที่เรียกว่า Zero Defect

ความเหมาะสมในการนำ Six sigma ไปใช

การนำ Six Sigma มาปรับใช้ จำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมขององค์การ การนำมาใช้ไม่ได้รับประกันในทุกกรณี เช่น ในกรณีของบริษัทที่ทำบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คุณภาพไม่สำคัญเท่ากับการมีต้นทุนที่ต่ำ โดยทั่วไปลูกค้าจะสนใจคุณภาพของสินค้าที่อยู่ข้างในมากกว่า ตราบเท่าที่บรรจุภัณฑ์นั้นแข็งแรงพอ ต้นทุนที่ต่ำจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จขององค์การลักษณะนี้ การเพิ่มค่าอีก 2 Sigma จะเพิ่มต้นทุนเป็น 2 เท่า เช่นกัน การมีคุณภาพที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีความสำคัญไปกว่าการมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ตรงกันข้ามกับบริษัทที่มีเป้าหมาย คุณภาพของสินค้าเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จขององค์การ อย่างเช่น สินค้าที่สามารถสร้าง มูลค่าเพิ่มได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ได้แก่พวกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องก้าวให้ทันหรือต้องล้ำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมผลิต Computer Chips อุตสาหกรรมรถยนต์ กล้องถ่ายรูป เครื่อง คิดเลข เป็นต้น การนำ Six Sigma ไป Implement จะเป็นหนทางที่ให้สามารถแข่งขันใน ตลาดได้
จริงอยู่ที่ Six Sigma สามารถปรับใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมแม้แต่ในอุตสาหกรรมภาคบริการ แต่การคาดหวังถึงผลที่ออกมาในรูปของกำไรจากการดำเนินงานต้องคำนึงถึงลักษณะของสินค้าขององค์การนั้นด้วยในกรณีที่บริษัทยอมเสียต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพแม้จะลดdefect ลงได้ แต่ถ้าสินค้าขององค์การนั้นเป็น Homogeneous Goods การกำหนดราคาขายต้องคำนึงถึงคู่แข่งขัน คงไม่สามารถหวังผลสำเร็จอย่าง Motoloraหรือ General Electric ได้ อย่างไรก็ตาม Six Sigma สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จากการสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา ต้นทุนของงานที่ต้องนำกลับแก้ไขหรือทำใหม่ บริษัทสามารถประหยัดต้นทุนโดยใช้เครื่องจักรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือไม่ใช่ทุกกระบวนการจะจำเป็นต้องไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือต้องพัฒนาระบบSix Sigma แต่ควรเลือกกระบวนการที่มีความสำคัญที่สุด หรือกระบวนการที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์การได้มากที่สุด เนื่องจากการพัฒนาระบบจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
สำหรับในประเทศไทย Six Sigma ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ใหม่ แต่แท้จริงแล้ววิธีการต่างๆที่ Six sigma นำมาใช้ในการเพิ่มระดับของ Process Sigma ก็คือเทคนิคการเพิ่มผลผลิตที่หลายๆบริษัทก็มีการใช้กันอยู่บ้างแล้ว เช่น Pareto Analysis , Cause and effect Diagrams , Histograms เป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าค่า Sigma ก็คือค่า Benchmarkค่าหนึ่งที่บอกให้ทราบสถานะของตัวเองก่อนและหลังการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิธีการที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เพราะฉะนั้นเมื่อสามารถบรรลุถึงผลสำเร็จหรือเป้าหมายที่วางไว้ก็คือในระดับ 6sก็จะเรียกรวมๆว่า เป็นผลสำเร็จของการดำเนินการ Six Sigma Process และจากที่กล่าวไปแล้วว่า การดำเนินการในการเพิ่ม Process Sigma นั้นไม่ได้รับรองผลความสำเร็จทุกกรณี ดังนั้น Six Sigma จะเป็นเทคนิควิธีการในการเพิ่มผลผลิตหรือจะเป็นเพียงค่าสถิติผู้ที่เกี่ยวข้องในProcess Sigma จะสามารถตอบคำถามนี้ได้ดีกว่าใคร
Six Sigma จะให้ความสำคัญกับ Continuous Improvement ซึ่งเป็นแนวคิดด้านการเพิ่มผลผลิตว่าวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ เพราะฉะนั้นหากวันนี้องค์การสามารถพัฒนาถึงระดับ Six Sigma แล้ว ในวันพรุ่งนี้คงจะต้องมองถึงระดับ Eight Sigma ต่อไป เพราะจากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Six sigma นันยังยอมรับ defect ที่ 3.4 DPMOอย่างไรก็ตาม Eight Sigma อาจดูเหมือนจะเป็นการกล่าวเกินจริง แต่ถ้ามองในระดับ World Class Company ตอนนี้ Six Sigma ไม่ใช่เรื่องแปลกเสียแล้ว