วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 1 ebiz

บทที่ 1
1.ข้อแตกต่างระหว่าง E-Business และ E-Commerce
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น จึงมีขอบเขตที่แคบกว่าธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการดำเนินธุรกิจทุกด้านโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

2.คุณลักษณะสำคัญของ E-Commerce มีอะไรบ้าง2.1 การมีอยู่ทุกแห่งหน (Ubiquity)
2.2 สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก (Global Reach)
2.3 ใช้มาตรฐานเดียวกัน (Universal Standard)
2.4 ความสมบูรณ์ของข้อมูล (Richness)
2.5 การโต้ตอบ (Interactive) E-Commerce
2.6 ความหนาแน่นของสารสนเทศ (Information Density)
2.7 การปรับแต่ง และสร้างความเป็นส่วนตัว (Personalization/Customization)

3.E-Commerce แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
10 ประเภท คือ
3.1 Business – to – Business (B2B)
3.2 Business-to-Consumer (B2C)
3.3 Consumer-to-Consumer (C2C)
3.4 Consumer-to-Business (C2B)
3.5 Intrabusiness E-Commerce
3.6 Business-to-Employee (B2E)
3.7 Collaborative Commerce (C-Commerce)
3.8 Electronic Government (E-Government)
3.9 Exchange-to-Exchange (E2E)
3.10 Nonbusiness E-Commerce

4.อธิบายแรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce
ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม คู่แข่ง และเทคโนโลยีเป็นต้น ในที่นี้จึงขอจำแนกแรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce ออกเป็น 2 ประการ คือ การปฏิวัติสู่ยุคดิจิตอล (Digital Revolution) และสภาพเวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment)

5.ยกตัวอย่างกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรมา 4 อย่าง

5.1 มีกลยุทธ์ในการรับผิดชอบดูแลเรื่องการประหยัดงบประมาณ การใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2 กำหนดแผนยุทธ์ศาสตร์ด้านความปลอดภัยระบบสารสนเทศให้ชัดเจนและนำไปปฏิบัติจริงได้
5.3 เพิ่มความรู้และมีความรอบรู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและไม่ล้าสมัย
5.4 นำองค์กรเข้าสู่มาตรฐานกำหนดความปลอดภัยสารสนเทศที่สากลให้การยอมรับและเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจสอบ จากผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ

6.แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) คืออะไร ประกอบด้วยโครงสร้างใดบ้าง
คือ วิธีการดำเนินธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ ทำให้บริษัทสามารดำรงอยู่ต่อไปได้ รวมถึงกิจกรรมช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ กิจกรรมเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้จากตัวแบบห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model)
ประกอบด้วย
6.1 Value Proposition
6.2 Revenue Model
6.3 Market Opportunity
6.4 Competitive Environment
6.5 Competitive Advantage
6.6 Market Strategy

7.ยกตัวอย่างแบบจำลองทางธุรกิจของ E-Commerce มา 5 ชนิด

· Advertising Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการให้เช่าพื้นที่โฆษณา ซึ่งอัตรารายได้จากการให้เช่าโฆษณาจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของเว็บไซต์ที่เป็นผู้ให้เช่าพื้นที่โฆษณา

· Subscription Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการให้บุคคลภายนอกเข้ามาสมัครเป็นสมาชิก อาจเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี สมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษเพื่อขเชมข้อมูลหรือใช้บริการต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากบริการที่เตียมไว้ให้สำหรับบุคคลภายนอก

· Transaction Fee Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการคิดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการต้า เช่น คิดค่าขนส่ง ค่าบริการ หรือค่านายหน้าจากการเป็นคนกลางที่จัดให้มีการประมูลออนไลน์ เป็นต้น

· Sale Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการขายสินค้าและบริการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสินค้าที่จับต้องได้ (Physical Product) ที่ต้องมีบริการจัดส่ง หรืออยู่ในรูปของสินค้าดิจิตอล ที่สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ได้

· Affiliate Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากค่านายหน้า หรือส่วนแบ่งทางการค้า ซึ่งได้รับฝากลิงค์(link) บนหน้าเว็บหรือที่เรียกว่าบริการ “Affiliate” เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้สนใจคลิกเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บของลิงค์นั้น แล้วทำธุรกรรมการค้ากับบริษัท

8.บอกข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไป และ E-Commerce-การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
-การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
-การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
-การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
-การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
-โครงข่ายเศรษฐกิจ
-การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี


9.ยกตัวอย่างข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-Commerce มาอย่างละ 5 ข้อ

ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

refer: http://originalthailand.blogspot.com/2009/11/1.html