วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความไม่สมดุลของสิ่งต่างๆ ในโลก

กฎข้างต้นเป็นการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองชุด เช่น ระหว่างรายได้และความมั่งคั่งกับสัดส่วนประชากร หรือระหว่างการใช้คำจำนวนหนึ่งกับการใช้คำในภาษาอังกฤษทั้งหมด ภาพต่อไปนี้แสดงถึงกฎ 80/20 ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวเลขมหัศจรรย์ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในความไม่สมดุลของสิ่งต่างๆ ในโลก






ต่อมามีนักวิชาการหลายคนได้นำกฎของ Pareto มาประยุกต์ และเรียกว่า กฎของการออกแรงน้อยที่สุด (Principle of Least Effort) โดย George K. Zipf นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี 1949 และต่อมาได้นำแนวคิดนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการค้นหาข้อมูลในห้องสมุด นอกจากนั้นวิศวกรอเมริกันชื่อ Joseph Juran ผลักดันให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Quality Revolution ระหว่าง 1950 – 1990 โดยเริ่มกระบวนการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ญี่ปุ่น ในปี 1953 ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นแนวคิดของ Total Quality Control และ Six Sigma ในเวลาต่อมา


บริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกาหลายแห่งได้นำเอาข้อสังเกตของความไม่สมดุล หรือกฎ 80/20 นี้ มาประยุกต์ในกลยุทธ์ด้านธุรกิจ เช่น บริษัทจะทราบว่ายอดขาย กำไร หรือการใช้งาน มิได้มาจากสาเหตุส่วนใหญ่ (จำนวนสินค้า จำนวนคน กลยุทธ์) อย่างเท่าเทียม แต่มาจากสาเหตุส่วนน้อยที่มีคุณภาพ จึงทำให้บริษัทมุ่งเน้นไปที่การหาประโยชน์จากส่วนน้อยนั้น และพยายามขยายส่วนของสาเหตุที่ยังไม่เป็นประโยชน์ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น


หรือ ในปี 1963 บริษัท IBM สำรวจพบว่าร้อยละ 80 ของเวลาและทรัพยากรในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะเป็นการใช้งานจากโค้ดของ Operating System เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น IBM จึงได้ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ใช้ประโยชน์จากส่วนร้อยละ 20 นี้ให้มากขึ้น ทำให้ส่วนนี้สามารถถูกใช้งานได้อย่างสะดวกและง่ายขึ้น


ดังนั้นจึงทำให้คอมพิวเตอร์ของ IBM ในยุคนั้นทำงานเร็ว และมีประสิทธิภาพกว่าคู่แข่ง