วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กฎที่สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเป็น 80/20 เสมอไป บางครั้งอาจจะเป็น 80/30 หรือ 80/10 หรือ 75/10 ก็ได้ ซึ่งตัวเลขไม่จำเป็นต้องบวกกันให้ได้ 100 เพราะเลขที่ใช้เป็นคนละชุดของข้อมูลกัน

กล่าวโดยรวมๆ คือกฎนี้จะตรงกันข้ามกับลักษณะ 50/50 หรือกฎความสมดุล ที่บอกว่าร้อยละ 50 ของ Inputs ก่อให้เกิดร้อยละ 50 ของ Outputs หรือผลงานที่เกิดขึ้น ซึ่งก็สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น การทำงานในชีวิตประจำวันของเรา

ผลงานที่ปรากฎส่วนใหญ่ จะเป็นการทำงานที่เกิดขึ้นในการใช้เวลาส่วนน้อยในแต่ละวัน หรือเวลาทำงานทั้งหมดของเรามิได้มีผลต่อความก้าวหน้าในงานของเรา ดังนั้นเราต้องทราบว่าเวลาที่สำคัญส่วนน้อยที่เป็นประโยชน์มากนั้นอยู่ตรงไหน และจะใช้มันให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

หรือเราอาจจะประหลาดใจที่ได้เห็นเพื่อนบางคนไม่ได้เรียนหนัก แต่มีความรู้และได้คะแนนดี ซึ่งเราจะพบว่าหนังสือที่ต้องอ่าน หรือเนื้อหาการบรรยายที่ต้องทำความเข้าใจทั้งหมดมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นหัวใจในการตอบคำถามในการสอบ ประเด็นอยู่ตรงที่ร้อยละ 20 นั้นคืออะไร และอยู่ตรงไหน



กฎ 80/20 นี้สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์ที่พยายามศึกษาหาหนทางที่จะให้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันเราได้ 2 แนวทางคือ

1)จัดสรรทรัพยากรมายังปัจจัยส่วนน้อยที่เป็นประโยชน์ต่อการเกิดผลส่วนใหญ่มากขึ้น เช่น หากเราค้นพบว่าสินค้า 2 ตัว ใน 10 ตัวของบริษัทที่ทำกำไรให้เป็นส่วนใหญ่ เราก็ต้องหาทางสนับสนุนและขยายการทำตลาดสินค้าทำเงินเหล่านั้นให้มากยิ่งขึ้น

2)ทำให้ Inputs ส่วนใหญ่ที่ยังไม่สร้างประโยชน์มากนักให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราไม่ควรจะปล่อยให้ส่วนหนึ่งของการใช้งานสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

อ่านบทความเดียวนี้ได้ที่ ดร. วรัญญู Blog กฎ 80/20 กฎเศรษฐศาสตร์มหัศจรรย์ หรือที่ กฎ 80/20 ใน OKNATION Blog หรือที่ กฎ 80/20 กฎเศรษฐศาสตร์มหัศจรรย์ และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ดร. วรัญญู Blog เศรษฐศาสตร์